ทาสแมว

ขนแมวสามารถกักเก็บดีเอ็นเอ ช่วยไขปริศนาคดีอาชญากรรมได้

ใครที่เป็นทาสแมว คงจะทราบกันดี ถึงนิสัยความซุกซน ของแมว ความชอบสอดรู้สอดเห็น และชอบเอาตัวถูกไถกับสิ่งต่างๆ ไปทั่ว แต่จะมีซักกี่คนกันที่จะรู้ว่า อุปนิสัยเหล่านี้นั้น มีประโยชน์มาก ในทางนิติเวชศาสตร์ ซึ่งทำให้เจ้าขนปุยจอมซนเหล่านี้ ช่วยไขคดีต่างๆ ให้กับตำรวจ ประดุจเป็นผู้ช่วยมือหนึ่งของนักสืบ ในคดีอาชญากรรมเลยก็ว่าได้

รายงานวิจัยล่าสุด ในวารสาร Forensic Science International ว่าด้วยเรื่องของ ประโยชน์ของขนสัตว์เลี้ยง ที่สามารถเก็บร่องรอยของ DNA ซึ่งเป็นเบาะแสสำคัญ ของคนร้าย ในคดีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปล้น หรือฆาตกรรมที่เกิดขึ้น ในบ้านที่มี สุนัขและแมว โดยผู้ทำการทดลอง ได้ทำการจัดกลุ่มทดลอง เป็นแมวทั้งหมด 20 ตัว จาก 15 ครอบครัว

การทดลองมีขึ้นในบ้านที่แมวอาศัยอยู่ โดยผู้วิจัยจะเก็บตัวอย่างของร่องรอยดีเอ็นเอจากขนแมว ด้วยการเช็ดถูที่ลำตัวข้างขวาของแมว 2 ครั้ง จากนั้นจะมีการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากบุคคลที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน ตามปกติแล้ว การสืบสวนคดีอาชญากรรมมักใช้ร่องรอยดีเอ็นเอ จากการสัมผัส (touch DNA) ที่เกิดขึ้น

ทาสแมว

หลังมนุษย์จับต้องสิ่งของหรือแตะพื้นผิวต่างๆ อย่างไรก็ตาม

ทีมผู้วิจัยคาดว่าร่องรอยดีเอ็นเอ จากขนแมวน่าจะเป็นฝุ่นละอองที่ร่วงหล่นจากร่างกาย จำพวกซากเซลล์ผิวหนังและเศษเส้นขนมากกว่า ซึ่งหลักฐานเหล่านี้อาจช่วยชี้ตัวบุคคลภายนอกที่ลอบเข้ามาในบ้าน หรือช่วยให้ตำรวจตัดผู้ต้องสงสัยบางรายออกไปจากการสืบสวนได้

ผลการทดลองพบว่า ร่องรอยดีเอ็นเอจากขนแมวถึง 80% อยู่ในระดับที่สูงและชัดเจนพอจะตรวจสอบได้ โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างแมวพันธุ์ต่าง ๆ ในเรื่องของปริมาณดีเอ็นเอที่เก็บมาได้ รวมทั้งระยะเวลาการเก็บรักษาดีเอ็นเอเอาไว้ที่ขน ไม่ว่าแมวนั้นจะเป็นพันธุ์ขนยาวหรือขนสั้นก็ตาม

ทีมผู้วิจัยยังสามารถแยกแยะดีเอ็นเอมนุษย์ซึ่งติดอยู่ที่ขนแมวออกมาได้ถึง 70% ของกลุ่มทดลองทั้งหมด ซึ่งนำไปใช้วิเคราะห์ตีความเพื่อไขความกระจ่างในคดีอาชญากรรมได้เป็นอย่างดี โดยในการทดลองครั้งนี้พบร่องรอยดีเอ็นเอของบุคคลลึกลับที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวจากแมวถึง 6 ตัว ทั้งที่ไม่มีคนแปลกหน้ามาเยือนที่บ้านเลยในช่วงสองวันก่อนทำการทดลอง

แม้ผลวิจัยในครั้งนี้ยืนยันว่าขนแมวสามารถจะช่วยไขคดีอาชญากรรมได้ แต่ทีมผู้วิจัยบอกว่ายังคงจะต้องทำการทดลองเพิ่มเติมต่อไป เพื่อให้ทราบข้อมูลที่เป็นรายละเอียดเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การวิเคราะห์ร่องรอยดีเอ็นเอจากขนแมวมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น

ส่งขนแมวตรวจดีเอ็นเอ หลังพบใกล้ที่พักผู้ต้องสงสัยฆ่าแมว

ตำรวจส่งหลักฐานขนแมวพิสูจน์เอ็นเอ หลังตรวจพบบริเวณที่คาดว่าใช้ก่อเหตุฆ่าแมว หากพบเป็นตัวเดียวกับซากแมว จะใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีกับดีเจสาวผู้ต้องสงสัย วันนี้ สัตวแพทย์หญิง ภัทรนันท์ สัจจารมย์ สัตวแพทย์ประจำองค์กรสวัสดิภาพสัตว์ (ว็อทซ์ด็อก) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางกลุ่มได้ส่งเนื้อเยื่อของแมวตัวที่ถูกทำให้เสียชีวิตไปตรวจหาความเข้ากันได้ของหลักฐานใหม่ ซึ่งเป็นขนของแมวที่ตำรวจและกลุ่มว็อทซ์ด๊อก

ตรวจพบในสถานที่แห่งหนึ่ง คาดว่าเป็นสถานที่ก่อเหตุทำให้แมวตาย โดยส่งไปตรวจที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อหา DNA หากผลตรวจพบว่ามาจากแมวตัวเดียวกัน จะใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีกับ น.ส.วรารัตน์ หรือดีเจซัน ผู้ต้องสงสัย พ.ต.อ.วุฒิชัย ไทยวัฒน์ ผกก.สน.เพชรเกษม กล่าวว่า พนักงานสอบสวนได้ยึดเอกสาร คอมพิวเตอร์

และหนังสือภาษาต่างประเทศ 16 เล่ม จากการตรวจค้นห้องพักเมื่อวานนี้ (24 ต.ค.) พบว่ามีหนังสือภาพและเนื้อหาภาษาญี่ปุ่น 2 เล่ม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรง โดยจะให้ล่ามภาษาญี่ปุ่น ช่วยแปลว่าหนังสือดังกล่าวมีส่วนทำให้ผู้ต้องสงสัยก่อเหตุฆ่าแมวได้หรือไม่ และจะนำหลักฐานที่มีไปขออำนาจศาลอนุมัติหมายจับ

ส่วนการออกหมายเรียก น.ส.วรารัตน์ หรือดีเจซัน มาให้ข้อมูลและรับทราบข้อกล่าวหา ที่ขอเลื่อนไปเป็นวันที่ 29 ต.ค.นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับการประสานมา ว่าจะเดินทางมาหรือไม่ และหากไม่มาก็จะต้องออกหมายเรียกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ ตำรวจยังได้หลักฐานเกี่ยวกับการใช้ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊กของดีเจซัน

ซึ่งขณะนี้ได้รวบรวมหลักฐาน และประสานกับตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (ปอท.) ให้ร่วมตรวจสอบแล้ว

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com / thaipbs.or.th

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : peachstateinvestigations.com